มาตรฐาน Official card game Playmat USA vs Japan


ขนาดมาตรฐาน Playmat ที่ใช้ในการแข่งขัน Pokémon Trading Card Game / Magic: The Gathering / Yu-Gi-Oh!

USA: Playmat Official USA มีขนาด 23-24 inch X 13.5 inch หนา 0.06 inch

JAPAN: Playmat Official Japan มีขนาด 58-60 cm X 30 cm หนา 1 mm ต้นทุนการผลิต ทั้งสองประเทศมีรูปแบบการผลิตที่เหมือนกัน ผิววัสดุด้านหน้าเป็นผ้าและวัสดุด้านหลังเป็นยาง
โดยจากการที่ทาง TCGPlaymat.com by GIFFINDEX เป็นโรงงานผู้ผลิตวัตถุดิบแผ่นรองเมาส์และเพลแมทแห่งแรกในประเทศไทย
วัตถุดิบที่เราผลิตให้ลูกค้าทั่วโลกจะใช้ไซด์หน้ากว้าง 120cm โดยจะมีทั้งแบบม้วน 100cm และแผ่นจัตุรัส 120cm x 120cm
ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการผลิตวัตถุดิบสำหรับใช้กับโต๊ะ เนื่องจากวัตถุดิบไม้อัดที่ใช้ทำโต๊ะ จะมีขนาดแผ่นละ 240cm x 240cm
ดังนั้นไซด์ที่ดีที่สุดในการผลิต Playmat ให้คุ้มค่าวัตถุดิบและวางบนโต๊ะได้สวยงามไม่ล้น จึงเป็นไซด์ 58 ถึง 60cm x 30cm


USA ใช้มาตรฐานการวัดไซด์แบบ inch ซึ่งแท้จริงแล้วจากที่กล่าวข้างต้น ไซด์ Playmat ที่ดีที่สุดคือ 60cm x 30cm แต่หากต้องแปลง 60cm เป็น inch จะได้เป็น 23.623inch ซึ่งตัวเลขที่มากอาจทำให้เกิดความสับสน ดังนั้นแบรนด์ส่วนใหญ่ในอเมริกา เมื่อต้องการผลิตสินค้าที่มีขนาด 60cm จึงนิยมระบุว่า 24inch แทนนั่นเอง ถึงแม้ว่า 24inch จะมีขนาด 60.9 ก็ตาม
ด้วยเหตุนี้การตัดวัตถุดิบ จึงต้องถูกกำหนดเป็นไซด์ 60.5cm ไว้เผื่อ +บวก -ลบ 5mm ตามมาตรฐานการตัดวัสดุ
ทำให้ต้นทุนของแบรนด์อเมริกาสูงกว่าญี่ปุ่นจากการที่ไม่ได้ใช้หน่วยวัดแบบเมตริก
เนื่องจากเมื่อตัดไซด์ 60.5cm จะทำให้ตัดวัตถุดิบไม่ลงตัว เมื่อนำไปหารกับ 120cm x 120cm จะตัดได้เพียง 4 ชิ้นต่อวัตถุดิบ 1 แผ่น หรือหากเทียบด้วยวัตถุดิบชนิดม้วน จะผลิตได้น้อยกว่าไซด์ญี่ปุ่น 2 แผ่นในทุกๆ 3 เมตร โดยประมาณ
ทางฝั่งอเมริกาจึงต้องเพิ่มขนาดด้านกว้าง เพื่อให้ใช้วัตถุดิบได้อย่างคุ้มค่า เหลือส่วนที่ต้องทิ้งน้อยที่สุด
จึงเกิดเป็นไซด์ 60.5 x 35 cm ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมสินค้าของแบรนด์อเมริกาจึงมีราคาสูงกว่าทั้งที่วัสดุเหมือนกัน แต่ในบางรุ่นมีการตัดไซด์ที่ 60cm ด้วยเช่นกันโดยจะระบุว่า 23 7/8 inch แต่ความกว้างยังคงมากกว่า Japan อยู่เช่นเดิม

JAPAN ใช้มาตรฐานการวัดแบบเมตริก cm mm จึงสามารถระบุไซด์ได้อย่างชัดเจน ที่ 58cm x 30cm จากที่กล่าวในหัวข้อข้างต้น
การที่ญี่ปุ่นผลิตไซด์นี้เมื่อตั้งเครื่องตัด จะตั้งที่ 58.5 cm เผื่อ +บวก -ลบ 5mm ซึ่งจะอยู่ในระดับ 58 - 59cm และสามารถตัดวัตถุดิบ 120 cm x 120 cm ได้ลงตัว ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่น สามารถผลิต Playmat ได้ถึง 8 ผืน ด้วยวัตถุดิบเพียง 1 แผ่น จึงทำให้ราคาต้นทุนของฝั่งญี่ปุ่นถูก และทำกำไรได้มากกว่า นอกจากนี้ ความฉลาดของญี่ปุ่น ที่เลือกใช้ความหนาเพียง 1mm ให้นึกภาพง่ายๆ ว่า แผ่น playmat ที่หนา 2 mm ก็เปรียบเสมือนแผ่นที่มี ขนาด 1 mm จำนวน 2 แผ่นนั่นเอง ดังนั้นเมื่อทางญี่ปุ่นกำหนดว่า หนา 1 mm จึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุด แต่จะมีข้อด้อยในเรื่องของความนุ่มนวล ซึมซับแรงกดของข้อมือ เป็นต้น โดยจะได้ข้อดีที่เป็นผลพลอยได้ก็คือ เมื่อ Playmat มีขนาดบางลง ก็จะมองเห็นเนื้อยาง จากด้านข้างได้น้อยลง จนอาจมองไม่เห็นฟองอากาศ ซึ่งหากเป็นยางเกรดต่ำ จะมีฟองอากาศมาก ดังนั้นญี่ปุ่นจึงสามารถลดต้นทุนในส่วนนี้ด้วยยางเกรดต่ำลงได้ด้วยเช่นกัน ในขณะที่ปัจจุบันยางเกรด Elastic8 ของทาง TCGPlaymat.com by GIFFINDEX เป็นยางเกรดดีที่สุดในโลกที่สามารถนำไปผลิต neoprene e8 ได้เพียงเจ้าเดียวในประเทศไทย อิงจากต้นปี 2022 ที่นวัตกรรม e8 เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศอิสราเอล จนถึงกลางปี 2022 ซึ่งบริษัทอื่นๆ ทั่วโลกเริ่มอับเกรดเป็น e8 กันอย่างต่อเนื่อง


การกันน้ำ กันฝุ่น และการเย็บถักขอบ ทั้ง Playmat USA และ Playmat Japan ที่เป็น Official นั้น นิยมที่จะเลือกผ้าชนิดที่ไม่ผ่านการ Coating resist liquid หรือไม่กันน้ำ ไม่กันฝุ่น รวมถึงไม่เย็บขอบ ด้วยเหตุผลทางการตลาด คือ เมื่อแผ่นเริ่มเสื่อมสภาพ จากการเสียดสีจนถลอก หรือ เลอะคราบสกปรกฝังแน่น ผู้ใช้จะได้มีเหตุผลในการซื้อแผ่นใหม่ หรือลายใหม่มากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงแบรนด์แผ่นรองเมาส์ it ชั้นนำของโลกด้วยเช่นกัน โดยจะมีเพียงบางรุ่นเท่านั้นที่ทำกันน้ำ กันฝุ่นโดยเฉพาะ

USA เริ่มมีการเย็บขอบ และ กันน้ำกันฝุ่น มากขึ้นในปี 2022 นี้ จากการที่มีคู่แข่งที่ใช้กันน้ำ กันฝุ่น และเย็บขอบ เพิ่มมากขึ้น อาทิเช่นจากทาง TCGPlaymat.com by GIFFINDEX ของเรา ที่จะแนะนำออฟชั่นเสริมให้ลูกค้าก่อนทำการผลิตทุกครั้ง ว่าลูกค้าสามารถเย็บขอบและทำ Coating resist liquid and dust ได้ รวมถึงแจ้งข้อดี ข้อเสีย ของการเย็บขอบและไม่เย็บขอบ กันน้ำและไม่กันน้ำ

JAPAN ยังคงมาตรฐานเดิม นั่นคือต้นทุนน้อย กำไรมากเป็นสำคัญ และยังนิยมที่จะใช้ Playmat ในรูปแบบเดิมไม่เย็บขอบ ไม่กันน้ำ ไม่กันฝุ่น เนื่องจาก Coating resist liquid and dust ยกตัวอย่างเช่นของทางโรงงาน TCGPlaymat.com by GIFFINDEX จะต้องเพิ่มเงินถึง 15 บาทต่อชิ้นโดยประมาณสำหรับไซด์ Official Playmat

บทสรุปจากเนื้อหาสาระข้างต้น เราสรุปได้ว่า หากคุณเป็นคนรักษ์โลก และมุ่งเน้นที่จะให้มีการปล่อยมลพิษน้อยลง Playmat ที่เราแนะนำ ควรเป็น Playmat มาตรฐาน Japan เนื่องจากไซด์ของ Japan เมื่อตัดแล้ว จะเหลือเศษสำหรับทิ้งน้อยกว่าเป็นอย่างมาก รวมถึงมีราคาที่ถูกกว่าเล็กน้อยเข้าถึงได้ง่าย และสามารถใช้กับการแข่งขันทางการ Official Tournament ได้ทุกรายการ เนื่องจากการ์ดเกมประเทศไทยอิงจากประเทศญี่ปุ่นมากกว่าอเมริกา
แต่หากคุณเป็นคนที่ชอบ Quality คุณภาพที่สูง คุณควรเลือกใช้แบรนด์อเมริกา ที่ได้รับลิขสิทธิ์ License จากทาง Official เนื่องจากแบรนด์อเมริกาที่ได้ลิขสิทธิ์นั้น มักจะเป็นแบรนด์ UltraPro ซึ่งทางโรงงาน GIFFINDEX ของเราเป็น 1 ในโรงงานที่ร่วมใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันมาก่อน ซึ่งการันตีได้ว่า UltraPro ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีการทำโมลด์ลาย Ultrapro ผ่าน nylon เพื่อใช้เทคโนโลยีทำให้ลายโลโก้ไปอยู่บนแผ่นยางได้
แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำโมลด์โลโก้ในราคาสูง แต่แบรนด์อเมริกาก็ยอมที่จะจ่ายเพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง ดังนั้นคุณภาพของวัตถุดิบจึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าเป็นของมีคุณภาพเช่นกัน แต่แบรนด์ที่มีโลโก้อยู่ใต้ยางนั้นส่วนมากจะใช้เทคโนโลยี 2 ชนิดคือ 1. การทำโมลด์ปั้มผ่าน nylon และใช้เทคนิคพิเศษในการทำ ซึ่งการทำในลักษณะนี้ โลโก้จะฝังอยู่ในเนื้อยางลักษณะนูน ดูพรีเมี่ยม แต่ข้อเสียคือการยึดเกาะจะลดลงเมื่อเทียบกับ แผ่นยางลายปกติ 2. การทำลายบนตัวยางด้วยการ silkscreen ลักษณะนี้จะไม่กระทบต่อการยึดเกาะและราคาถูกกว่าแบบที่ 1. แต่โลโก้จะไม่นูนขึ้นมา โดยจะฝังเข้าไปเป็นเนื้อเดียวกับตัวยางนั่นเอง
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการผลิตของฝั่งอเมริกานั้นใช้วัตถุดิบและกรรมวิธีที่สิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงต้องใช้การเผาไหม้มากกว่าถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับกรรมวิธีผลิตปกติ อีกทั้งคุณภาพที่ออกมากลับไม่ได้ดีขึ้นมากกว่าสิ่งที่เสียไป


Playmat USA และ JAPAN แบบไหนที่ทาง TCGPlaymat.com by GIFFINDEX ชอบมากกว่า ?
ในความคิดของเรานั้น แผ่น Playmat ที่เหมาะสมประกอบด้วย

1.ไซด์ที่ได้มาตรฐานการแข่งขัน และ ไม่ล้นขอบโต๊ะ ซึ่งควรเป็น 58 ถึง 60cm x 30cm หรือเทียบเท่าไซด์มาตรฐาน Japan
2.ลวดลายสวยงามที่ตัวเองชื่นชอบ เช่นลายโปเกมอน หรือ ลายครอบครัว หรือของที่เรารัก
3.กันน้ำ กันฝุ่น ปฎิเสธไม่ได้ว่า ช่วยถนอมอายุการใช้งานได้เยอะ แต่หากมีเงินก็ซื้อใหม่ได้โดยไม่ซีเรียสข้อนี้
4.ไม่เย็บขอบ เพราะการวางการ์ด บริเวณใกล้ขอบ จะได้ไม่สะดุดขอบ แต่จะต้องแลกมาด้วย การเปื่อยของขอบ หรือ ผ้าหลุดจากยางบริเวณขอบเมื่อเกิดการเสียดสีรุนแรงและบ่อยครั้ง
5.ความหนา ยิ่งมีความหนามากเท่าไร ยิ่งซับแรงกดของข้อมือได้ดีขึ้นเท่านั้น ดังนั้นยิ่งหนา ยิ่งสบายข้อมือ ในจุดนี้ USA ที่หนา 1.5mm ดีกว่า JAPAN ที่หนาเพียง 1mm แต่ทาง TCGPlaymat.com by GIFFINDEX จะใช้ 2 ถึง 3mm ในการผลิต เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

สรุปแล้ว หากต้องเลือก USA กับ JAPAN เราคงเลือก JAPAN ด้วยเหตุผลหลักในข้อแรก คือ ต้องการให้วางแล้วพอดีกับโต๊ะ เมื่อนำมาวาง 2 แผ่นต่อกัน ต้องไม่ล้นขอบโต๊ะ ซึ่งมาตรฐานโต๊ะที่ใช้มากที่สุดคือ 60 x 120cm ดังนั้น หากเป็น USA ที่กว้าง 35cm เมื่อวาง 2 แผ่นต่อกันจะได้ 70cm ซึ่งเกินจากขนาดโต๊ะมาตรฐาน แต่หากวางของ JAPAN 30cm 2 แผ่น จะพอดีกับหน้าโต๊ะมาตรฐาน ซึ่งทำให้ดูสวยงามกว่าอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยลดมลพิษทางอากาศและลดโลกร้อนมากกว่า USA ถึง 3 เท่า เนื่องจากไม่มีเศษวัตถุดิบเหลือทิ้งจำนวนมาก ถึงแม้ว่าเศษที่เหลืออาจจะนำไปใช้กับงานประเภทอื่นได้ แต่โอกาสที่จะได้ใช้ค่อนข้างน้อย ส่วนมากจะตัดทิ้ง

วิธีการทำความสะอาด Playmat, Mousepad, Deskmat, Tablemat แบรนด์ Giffindex, Ultrapro, Steelseries ในกรณีที่แผ่นรองเมาส์ แผ่นรองโต๊ะ รวมถึงเพลย์แมท มีคราบสกปรก สามารถทำความสะอาดได้ด้วยการซักมือ ด้วยน้ำผสมสบู่ หรือ น้ำยาซักผ้า (ไม่แนะนำให้ใช้น้ำยาล้างจาน เนื่องจากมีส่วนผสมสารที่สามารถทำให้ผิวสัมผัสเกิดรอยด่างได้) เมื่อทำการซักมือเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปตากแดดได้ตามปกติ (ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องอบผ้า อ้างอิงจากเหตุผลด้านล่างในหัวข้อการรีด และอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อโมเลกุล)

วิธีแก้แผ่นรองเมาส์ยับ สามารถใช้เตารีดร้อนรีดทับได้ทันที (โดยให้รีดบนผิวสัมผัสด้านบนที่มีลวดลาย) ห้ามรีดด้านที่เป็นยาง ความร้อนที่แนะนำในการรีด คือ อุณภูมิ 100 องศา ถึง 120 องศา แม้ตัววัสดุสามารถทนความร้อนได้สูงกว่า 200 องศาก็ตาม แต่หากอุณภูมิสูงกว่า 200 องศา จะทำให้ยางโพลิเมอร์เปลี่ยนโมเลกุลและปล่อยสารพิษ ก๊าซไฮดรอเจนคลอไล และ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเป็นสารพิษที่อันตรายต่อสุขภาพ

คำเตือน ห้ามทำความสะอาด หรือ รีด หากไม่ใช่สินค้าจากแบรนด์ที่ระบุ เนื่องจากผู้ผลิตบางแบรนด์ อาจมีการใช้สารบางตัวในเส้นใยผ้า อาทิเช่น นาโนซิลเวอร์ (Nano Silver antimicrobial coating) ซึ่งเมื่อซักผ้าหรือถูกความร้อนสูง อนุภาคของนาโนซิลเวอร์ สามารถหลุดลอกเมื่อเทน้ำเสียหลักจากการซักที่มีส่วนผสมของนาโนซิลเวอร์จากการซักลงสู่ชั้นดิน จะส่งผลกระทบต่อพืชและห่วงโซ่สิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

**คำเตือน : ในการทิ้งขยะ เพลย์แมท หรือ แผ่นรองเมาส์ ที่ไม่ใช้แล้ว ควรทำการแยกขยะ เป็นส่วนเดียวกับ ขยะพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้คนเก็บขยะกำจัดทำลายแผ่นรองเมาส์หรือเพลย์แมทด้วยการเผาไหม้ เนื่องจากจะทำปฎิกิริยาให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและเป็นผลเสียต่อโลก